ยาต้าน covid-19 ไวรัสโคโรนา

เตรียมเลิกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ ทุกสถานที่ สธ. ชี้ไร้ประสิทธิภาพ ให้ผลบวก-ลบปลอม

สธ. ชง ศบค. ยกเลิกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย สนามบิน และต่างสถานที่ต่าง ๆ คัดกรองผู้ป่วยโควิด 19 ชี้ไม่มีประสิทธิภาพ ให้ผลบวกและลบปลอม ไม่พบหลักฐานช่วยป้องกันการแพร่โรคได้ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง และประธานคณะกรรมการประมวลสถานการณ์โรคโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข (MIU) เปิดเผยว่า...
Read More

สธ.ระบุ ไม่ใช่ “โควิดสายพันธุ์ไทย”

สธ.ระบุ ไม่ใช่ "โควิดสายพันธุ์ไทย" แค่ไทยตรวจเจอประเทศแรกจากคนมาจากอียิปต์ และอยู่ในสถานที่กักกัน เทียบเคียงกรณีสายพันธุ์บราซิล ก็ตรวจเจอที่แรกที่ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2564 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า รายงานจากนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า ขณะนี้ยังไม่พบ การกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์ไทย อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังต้องมีการติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ด้าน นพ.ศุภกิจ...
Read More

เปิดราคาวัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา เร่งให้ทันไตรมาสที่ 3

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีนโควิด 19 ทางเลือก ซึ่งจะมีการนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาเข้ามา โดยเป็นการซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการสั่งซื้อ เบื้องต้นได้มีข้อตกลงกับตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาว่าจะสามารถจัดหาโควตาวัคซีนได้เพิ่มเป็น 10 ล้านโดส   นพ.เฉลิม กล่าวต่อว่า โดยจะทยอยนำเข้ามาผ่านองค์การเภสัชกรรม และขายต่อให้กับโรงพยาบาลเอกชน คาดว่าการเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาของโรงพยาบาลเอกชนจะทำได้เร็วกว่ากำหนดเดิมในเดือนตุลาคม 2564 โดยจะเร่งขึ้นมาเป็นในช่วงไตรมาส 3/2564 ทั้งนี้สำหรับราคาค่าบริการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนนั้น เบื้องต้นค่าบริการฉีดวัคซีน...
Read More

วิธีเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19

โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกัน วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย...
Read More

สหรัฐส่งออกวัคซีนโควิดเพิ่ม 20 ล้านโดสช่วยเหลือประเทศต่างๆ

บริษัทยาของสหรัฐ ซึ่งได้แก่ ไฟเซอร์-บิออนเทค, โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังเร่งผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต่อสัปดาห์ให้ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นความคืบหน้าที่จะช่วยเร่งการดำเนินงานของโครงการฉีดวัคซีนในสหรัฐ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ ประกาศจะมอบวัคซีนต้านโควิด-19 แก่ประเทศต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐจะส่งออกวัคซีนที่ใช้ในประเทศแล้วไปยังประเทศอื่น หลังอุปทานเริ่มพุ่งสูงกว่าอุปสงค์ โดยยาที่จะส่งออกมีทั้งของบริษัทไฟเซอร์ โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งเป็นการส่งออกเพิ่มจากวัคซีนของแอสตราเซนเนก้า ที่ปธน.ไบเดน...
Read More

UK เร่งรัดฉีดวัคซีนต้านโควิด-19

สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายวันเพียง 2,027 คน ส่วนหนึ่งจากโครงการเร่งรัดฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศแห่งนี้เพิ่มเป็น 4,448,851 ราย จากตัวเลขอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ (15 พ.ค.) ประเทศแห่งนี้ยังรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มเติมอีก 7 ราย ยอดรวมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 127,675 คน แม้ตัวเลขออกมาในแง่บวก แต่พวกผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าขั้นต่อไปของการผ่อนปรนข้อจำกัดล็อกดาวน์ในอังกฤษที่กำหนดไว้ในวันจันทร์ (17...
Read More

อัปเดตวัคซีนถูกจองคิวฉีดวัคซีนแล้ว 1.4 ล้านราย

ความคืบหน้าลงทะเบียน “หมอพร้อม” ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง จองคิวฉีดวัคซีนแล้ว 1.4 ล้านราย วันที่ 6 พ.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเฟซบุ๊ก “หมอพร้อม” มีการรายงานความคืบหน้าตัวเลขผู้ลงทะเบียนจองคิวเพื่อฉีดวัคซีนในกลุ่มของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7...
Read More

วัคซีนโควิด-19″หญิงตั้งครรภ์”ควรฉีดหรือไม่?

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 77 ราย ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และพบการติดเชื้อในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 81.5  แนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนป้องกัน แต่ให้เหมาะควรฉีดช่วงหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พร้อมย้ำป้องกันตัวเองต่อเนื่อง สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย...
Read More

วิกฤตโควิดในอินเดียเกี่ยวข้องกับคนทั้งโลกอย่างไร

ภาพคนอินเดียจำนวนมากกำลังล้มตายจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สองในอินเดีย ได้สร้างความตกตะลึงและสลดใจให้คนทั่วโลก ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ของอินเดียทะลุหลัก 200,000 คนแล้ว โดยสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากสหรัฐฯ บราซิล และเม็กซิโก แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้ เพราะพบกรณีผู้เสียชีวิตจากโควิดหลายคนไม่ได้ถูกนับรวมเข้าไปในตัวเลขของทางการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ วิกฤตครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่สุสานและฌาปนสถานต้องทำงานกันทั้งวันทั้งคืน ฌาปนสถานหลายแห่งเผาศพไม่ทันจนต้องสร้างที่เผาศพชั่วคราวขึ้นเพื่อรองรับกับศพที่หลั่งไหลเข้าไปจำนวนมาก เชื้อกลายพันธุ์ นอกจากอินเดียจะมีอัตราการติดเชื้อสูงแล้ว ก็ยังมีอีกปัจจัยที่น่ากังวล นั่นคือเชื้อกลายพันธุ์...
Read More

ไบเดนเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 AstraZeneca 60 ล้านโดส

ไบเดนเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 AstraZeneca 60 ล้านโดสให้ประเทศขาดแคลน สนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม ทางการสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 จาก AstraZeneca 60 ล้านโดสให้บรรดาประเทศขาดแคลนที่กำลังประสบวิกฤต เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม โดยในขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีวัคซีน AstraZeneca ภายในสต๊อก คาดว่าจะเริ่มทยอยจัดส่งช่วยเหลือได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้จำนวน 10...
Read More

วัคซีนโควิด-19

เปิดราคาวัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา เร่งให้ทันไตรมาสที่ 3

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีนโควิด 19 ทางเลือก ซึ่งจะมีการนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาเข้ามา โดยเป็นการซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการสั่งซื้อ เบื้องต้นได้มีข้อตกลงกับตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาว่าจะสามารถจัดหาโควตาวัคซีนได้เพิ่มเป็น 10 ล้านโดส   นพ.เฉลิม กล่าวต่อว่า โดยจะทยอยนำเข้ามาผ่านองค์การเภสัชกรรม และขายต่อให้กับโรงพยาบาลเอกชน คาดว่าการเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาของโรงพยาบาลเอกชนจะทำได้เร็วกว่ากำหนดเดิมในเดือนตุลาคม 2564 โดยจะเร่งขึ้นมาเป็นในช่วงไตรมาส 3/2564 ทั้งนี้สำหรับราคาค่าบริการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนนั้น เบื้องต้นค่าบริการฉีดวัคซีน 1 เข็ม จะอยู่ที่ราคาไม่เกิน 2,000 บาท และทั้งหมด 2 เข็ม จะมีค่าบริการไม่เกิน 4,000 บาท ยังไม่รวมค่าประกันอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ซึ่งทางสมาคมฯ จะพยายามกำหนดอัตราค่าบริการให้ใกล้เคียงกัน ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะทราบค่าบริการชัดเจน โดยที่ส่วนต่างค่าบริการคาดว่าจะมีมาร์จิ้นอยู่ที่ราว 30%

อ่านต่อ >>

วิธีเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19

โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกัน วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น การเตรียมตัวไปฉีดวัคซีนโควิด-19 1.สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 2.วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีกาเฟอีน 3.ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก 4.หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที 5.ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว ก็สามารถทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด ซ้ำได้ถ้าจำเป็นห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด 6.การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย […]

อ่านต่อ >>

สหรัฐส่งออกวัคซีนโควิดเพิ่ม 20 ล้านโดสช่วยเหลือประเทศต่างๆ

บริษัทยาของสหรัฐ ซึ่งได้แก่ ไฟเซอร์-บิออนเทค, โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังเร่งผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต่อสัปดาห์ให้ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นความคืบหน้าที่จะช่วยเร่งการดำเนินงานของโครงการฉีดวัคซีนในสหรัฐ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ ประกาศจะมอบวัคซีนต้านโควิด-19 แก่ประเทศต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐจะส่งออกวัคซีนที่ใช้ในประเทศแล้วไปยังประเทศอื่น หลังอุปทานเริ่มพุ่งสูงกว่าอุปสงค์ โดยยาที่จะส่งออกมีทั้งของบริษัทไฟเซอร์ โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งเป็นการส่งออกเพิ่มจากวัคซีนของแอสตราเซนเนก้า ที่ปธน.ไบเดน ประกาศเตรียมส่งออกไปก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีไบเดน กล่าวด้วยว่า เมื่อคำนวณแล้วสหรัฐจะส่งออกวัคซีนที่ผลิตในประเทศไปประเทศอื่นๆ ในช่วง 6 สัปดาห์นับจากนี้ไปในสัดส่วน 13% ที่ผ่านมา สหรัฐแบ่งวัคซีนจำนวน 4.5 ล้านโดสซึ่งเป็นของบริษัทแอสตราเซนเนก้า ให้แคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

อ่านต่อ >>

UK เร่งรัดฉีดวัคซีนต้านโควิด-19

สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายวันเพียง 2,027 คน ส่วนหนึ่งจากโครงการเร่งรัดฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศแห่งนี้เพิ่มเป็น 4,448,851 ราย จากตัวเลขอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ (15 พ.ค.) ประเทศแห่งนี้ยังรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มเติมอีก 7 ราย ยอดรวมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 127,675 คน แม้ตัวเลขออกมาในแง่บวก แต่พวกผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าขั้นต่อไปของการผ่อนปรนข้อจำกัดล็อกดาวน์ในอังกฤษที่กำหนดไว้ในวันจันทร์ (17 พ.ค.) ควรเป็นไปในแนวทางที่ระมัดระวังอย่างที่สุด นายแพทย์ ริชาร์ด จาร์วิส จากสมาคมการแพทย์สหราชอาณาจักร (BMA) เตือนว่า ยังมีพลเรือนภาคส่วนสำคัญๆ อีกหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน “มันน่ากังวลอย่างแท้จริง เมื่อจะมีการยกเลิกข้อจำกัดต่างๆเพิ่มติมในวันที่ 17 พฤษภาคม คนหนุ่มสาวจำนวนมากยังไม่ได้รับวัคซีน คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มอายุที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมสูงและอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมากที่สุด” เขาบอกกับบีบีซี นับตั้งแต่วันจันทร์ (17 พ.ค.) ผับ บาร์ และร้านอาหารในอังกฤษจะได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดบริการในร่ม ส่วนสถานบันเทิงในร่มก็จะกลับมาให้บริการเช่นกัน ในนั้นรวมถึงโรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ และพื้นที่เด็กเล่น ประชาชนในอังกฤษจะได้รับอนุญาตให้พบปะกันกลางแจ้งเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 30 คน และพบปะกันในร่มสูงสุดไม่เกิน 6 คน หรือ […]

อ่านต่อ >>

อัปเดตวัคซีนถูกจองคิวฉีดวัคซีนแล้ว 1.4 ล้านราย

ความคืบหน้าลงทะเบียน “หมอพร้อม” ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง จองคิวฉีดวัคซีนแล้ว 1.4 ล้านราย วันที่ 6 พ.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเฟซบุ๊ก “หมอพร้อม” มีการรายงานความคืบหน้าตัวเลขผู้ลงทะเบียนจองคิวเพื่อฉีดวัคซีนในกลุ่มของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง รวมจำนวน 16 ล้านคน ล่าสุดข้อมูล ณ เวลา 14.00 น. ที่ผ่านมา มีจำนวนการจองคิวฉีดวัคซีนสะสม 1,432,895 ราย แบ่งเป็น จองผ่านหมอพร้อม 1,176,079 ราย จองผ่านโรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) และ อสม. 256,816 ราย อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มนี้จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป ส่วนประชาชนทั่วไปจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมเช่นกัน ตั้งแต่ 1 ก.ค. […]

อ่านต่อ >>

วัคซีนโควิด-19″หญิงตั้งครรภ์”ควรฉีดหรือไม่?

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 77 ราย ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และพบการติดเชื้อในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 81.5  แนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนป้องกัน แต่ให้เหมาะควรฉีดช่วงหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พร้อมย้ำป้องกันตัวเองต่อเนื่อง สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกการประชุมคณะทำงานการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้นำเสนอข้อมูลการสำรวจของกรมอนามัยล่าสุด 28 เมษายน 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 77 ราย ไม่มีอาการ 43 ราย มีอาการปอดอักเสบ แต่ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ 21 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ติดเชื้อในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยข้อมูลการใช้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์พบยังมีไม่มาก แต่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป ข้อปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ ช่วงโควิด-19 ระบาด การนัดหมายตรวจครรภ์ กรณีตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 โดยไม่มีการนัดตรวจพิเศษอื่นๆ สามารถโทรติดต่อขอเลื่อนนัดตรวจครรภ์ออกไปตามความเหมาะสม ส่วนในรายที่อายุครรภ์ […]

อ่านต่อ >>

วิกฤตโควิดในอินเดียเกี่ยวข้องกับคนทั้งโลกอย่างไร

ภาพคนอินเดียจำนวนมากกำลังล้มตายจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สองในอินเดีย ได้สร้างความตกตะลึงและสลดใจให้คนทั่วโลก ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ของอินเดียทะลุหลัก 200,000 คนแล้ว โดยสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากสหรัฐฯ บราซิล และเม็กซิโก แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้ เพราะพบกรณีผู้เสียชีวิตจากโควิดหลายคนไม่ได้ถูกนับรวมเข้าไปในตัวเลขของทางการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ วิกฤตครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่สุสานและฌาปนสถานต้องทำงานกันทั้งวันทั้งคืน ฌาปนสถานหลายแห่งเผาศพไม่ทันจนต้องสร้างที่เผาศพชั่วคราวขึ้นเพื่อรองรับกับศพที่หลั่งไหลเข้าไปจำนวนมาก เชื้อกลายพันธุ์ นอกจากอินเดียจะมีอัตราการติดเชื้อสูงแล้ว ก็ยังมีอีกปัจจัยที่น่ากังวล นั่นคือเชื้อกลายพันธุ์ เชื้อโรคโควิด-19 ที่กลายพันธุ์ชนิดใหม่ในอินเดีย เรียกว่า B.1.617 ถูกเรียกว่า “การกลายพันธุ์คู่” (double mutant) เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 ตำแหน่งที่โปรตีนหนามของไวรัส หลักฐานจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นบ่งชี้ว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ติดต่อได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้แอนติบอดี หรือสารภูมิต้านทานสกัดกั้นเชื้อไวรัสได้ยากขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไรบ้าง ดร.เจฟฟ์ บาร์เรตต์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาจีโนมของเชื้อโรคโควิด-19 (Covid-19 Genomics Initiative) แห่งสถาบันเวลคัม แซงเงอร์ (Wellcome Sanger Institute) ในสหราชอาณาจักร ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า “ผมคิดว่าเราต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนี้ยังไม่มีเหตุผลที่ต้องตื่นตระหนกกับมัน” แต่ยิ่งจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในอินเดียเพิ่มขึ้นเท่าใด โอกาสที่จะเกิดเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ ๆ […]

อ่านต่อ >>

ไบเดนเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 AstraZeneca 60 ล้านโดส

ไบเดนเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 AstraZeneca 60 ล้านโดสให้ประเทศขาดแคลน สนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม ทางการสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 จาก AstraZeneca 60 ล้านโดสให้บรรดาประเทศขาดแคลนที่กำลังประสบวิกฤต เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม โดยในขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีวัคซีน AstraZeneca ภายในสต๊อก คาดว่าจะเริ่มทยอยจัดส่งช่วยเหลือได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้จำนวน 10 ล้านโดส ก่อนที่อีก 50 ล้านโดสจะจัดส่งให้ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนปีนี้ เบื้องต้นยังอยู่ในช่วงการพิจารณาว่า จะส่งวัคซีนดังกล่าวไปช่วยเหลือประเทศใด  ทางด้าน เจน ปซากี โฆษกประจำทำเทียบขาวระบุว่า ขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ได้ประกาศรับรองวัคซีนต้านโควิด-19 แล้วจำนวน 3 ตัวจาก Pfizer-BioNTech, Moderna และ Johnson & Johnson โดยวัคซีนจาก AstraZeneca ที่ทางสหรัฐฯ สั่งจองไปจะต้องผ่านการรับรองและตรวจสอบระดับประสิทธิภาพก่อนที่จะประกาศใช้เป็นกรณีฉุกเฉินภายในสหรัฐฯ ได้  แม้การเตรียมจัดสรรวัคซีนของสหรัฐฯ ก่อนส่งไปช่วยเหลือประเทศต่างๆ จะถือเป็นก้าวสำคัญของการสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมในประชาคมโลก แต่หลายฝ่ายยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งส่งความช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะวัคซีนต้านโควิด-19 ที่ทางการมีสต๊อกไว้อยู่ในขณะนี้  นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯ […]

อ่านต่อ >>

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใครควรได้รับบ้าง?

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใครควรได้รับบ้าง?

เป้าหมายของการให้วัคซีนโควิด-19 คือ เพื่อลดการป่วยรุนแรง การเสียชีวิตจากโรคและการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากร เนื่องจากปริมาณของวัคซีนมีจำกัด กลุ่มเป้าหมายในระยะแรก คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรคสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายในระยะถัดไปเมื่อมีปริมาณวัคซีนมากขึ้น คือ ประชาชนทั่วไป ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก แต่จากคำแนะนำในการฉีดวัคซีนของแต่ละบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ยกเว้นวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ที่แนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม จากคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรอาจเลือกที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ หากเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาระหว่างความรุนแรงที่เกิดหากติดเชื้อโควิด-19 กับอาการข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น

อ่านต่อ >>

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine) คืออะไร?

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine) คืออะไร?

สำหรับประเทศไทยมีการพิจารณานำเข้าวัคซีน โดยวัคซีป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine)นที่นำมาใช้นั้น จะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง รวมถึงมีการอนุมัติใช้แล้วในหลากหลายประเทศและได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งในขณะนี้มีด้วยกัน 4 ชนิดหลักๆ แบ่งตามเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีน คือ mRNA vaccines เป็นการผลิตโดยใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา Viral vector vaccines เป็นการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปในสารพันธุกรรมของไวรัสชนิดอื่นที่อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพื่อพาเข้ามาในร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา Protein-based vaccines จะใช้โปรตีนบางส่วนของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เช่น โปรตีนส่วนหนาม (spike protein) ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส Inactivated vaccines ผลิตโดยการใช้ไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้ว เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส

อ่านต่อ >>
ดูหนังออนไลน์