สธ. ชง ศบค. ยกเลิกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย สนามบิน และต่างสถานที่ต่าง ๆ คัดกรองผู้ป่วยโควิด 19 ชี้ไม่มีประสิทธิภาพ ให้ผลบวกและลบปลอม ไม่พบหลักฐานช่วยป้องกันการแพร่โรคได้ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง และประธานคณะกรรมการประมวลสถานการณ์โรคโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข (MIU) เปิดเผยว่า...
Read More
หากมีอาการโควิด 19 ควรทำอย่างไร ?

ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และเมื่อแพทย์ซักถามควรตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบัง ไม่บิดเบือนข้อมูลใด ๆ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องมากที่สุดหากเพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอกเป็นเวลา 14-27 วัน เพื่อให้ผ่านช่วงเชื้อฟักตัว (ให้แน่ใจจริง ๆ ว่าไม่ติดเชื้อโควิด 19)

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยทั้งตัว
- มีความเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือคลัสเตอร์
- มีประวัติการเดินทางไปพื้นที่โรคระบาด
- เข้ารับการตรวจรับสถานพยาบาลที่รับตรวจ และตรวจซ้ำแล้วไม่มี false positive (recheck ภายใน 24 ชั่วโมง)
- แยกห้องนอนสิ่งของเครื่องใช้ สวมใส่หน้ากากอนามัย ไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ให้ข้อมูลเพื่อการสอบสวนโรคตามความเป็นจริงเพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการกับโรค
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
- ผู้สูงอายุ
- คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
- คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
- คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
- ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
- ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
- ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น