[recent_post_slider design="design-4" dots="false"]
ดูหนังออนไลน์

วัคซีนโควิด-19

เปิดราคาวัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา เร่งให้ทันไตรมาสที่ 3

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีนโควิด 19 ทางเลือก ซึ่งจะมีการนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นาเข้ามา โดยเป็นการซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการสั่งซื้อ เบื้องต้นได้มีข้อตกลงกับตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาว่าจะสามารถจัดหาโควตาวัคซีนได้เพิ่มเป็น 10 ล้านโดส   นพ.เฉลิม กล่าวต่อว่า โดยจะทยอยนำเข้ามาผ่านองค์การเภสัชกรรม และขายต่อให้กับโรงพยาบาลเอกชน คาดว่าการเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาของโรงพยาบาลเอกชนจะทำได้เร็วกว่ากำหนดเดิมในเดือนตุลาคม 2564 โดยจะเร่งขึ้นมาเป็นในช่วงไตรมาส 3/2564 ทั้งนี้สำหรับราคาค่าบริการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนนั้น เบื้องต้นค่าบริการฉีดวัคซีน 1 เข็ม จะอยู่ที่ราคาไม่เกิน 2,000 บาท และทั้งหมด 2 เข็ม จะมีค่าบริการไม่เกิน 4,000 บาท ยังไม่รวมค่าประกันอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ซึ่งทางสมาคมฯ จะพยายามกำหนดอัตราค่าบริการให้ใกล้เคียงกัน ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะทราบค่าบริการชัดเจน โดยที่ส่วนต่างค่าบริการคาดว่าจะมีมาร์จิ้นอยู่ที่ราว 30%

อ่านต่อ >>

วิธีเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19

โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกัน วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น การเตรียมตัวไปฉีดวัคซีนโควิด-19 1.สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 2.วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีกาเฟอีน 3.ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก 4.หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที 5.ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหว ก็สามารถทานพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด ซ้ำได้ถ้าจำเป็นห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด 6.การฉีดวัคซีนโควิดควรห่างกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย […]

อ่านต่อ >>

สหรัฐส่งออกวัคซีนโควิดเพิ่ม 20 ล้านโดสช่วยเหลือประเทศต่างๆ

บริษัทยาของสหรัฐ ซึ่งได้แก่ ไฟเซอร์-บิออนเทค, โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังเร่งผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต่อสัปดาห์ให้ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นความคืบหน้าที่จะช่วยเร่งการดำเนินงานของโครงการฉีดวัคซีนในสหรัฐ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ ประกาศจะมอบวัคซีนต้านโควิด-19 แก่ประเทศต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ภายในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ ถือเป็นครั้งแรกที่สหรัฐจะส่งออกวัคซีนที่ใช้ในประเทศแล้วไปยังประเทศอื่น หลังอุปทานเริ่มพุ่งสูงกว่าอุปสงค์ โดยยาที่จะส่งออกมีทั้งของบริษัทไฟเซอร์ โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งเป็นการส่งออกเพิ่มจากวัคซีนของแอสตราเซนเนก้า ที่ปธน.ไบเดน ประกาศเตรียมส่งออกไปก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีไบเดน กล่าวด้วยว่า เมื่อคำนวณแล้วสหรัฐจะส่งออกวัคซีนที่ผลิตในประเทศไปประเทศอื่นๆ ในช่วง 6 สัปดาห์นับจากนี้ไปในสัดส่วน 13% ที่ผ่านมา สหรัฐแบ่งวัคซีนจำนวน 4.5 ล้านโดสซึ่งเป็นของบริษัทแอสตราเซนเนก้า ให้แคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

อ่านต่อ >>

UK เร่งรัดฉีดวัคซีนต้านโควิด-19

สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายวันเพียง 2,027 คน ส่วนหนึ่งจากโครงการเร่งรัดฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศแห่งนี้เพิ่มเป็น 4,448,851 ราย จากตัวเลขอย่างเป็นทางการที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ (15 พ.ค.) ประเทศแห่งนี้ยังรายงานพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มเติมอีก 7 ราย ยอดรวมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 127,675 คน แม้ตัวเลขออกมาในแง่บวก แต่พวกผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าขั้นต่อไปของการผ่อนปรนข้อจำกัดล็อกดาวน์ในอังกฤษที่กำหนดไว้ในวันจันทร์ (17 พ.ค.) ควรเป็นไปในแนวทางที่ระมัดระวังอย่างที่สุด นายแพทย์ ริชาร์ด จาร์วิส จากสมาคมการแพทย์สหราชอาณาจักร (BMA) เตือนว่า ยังมีพลเรือนภาคส่วนสำคัญๆ อีกหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน “มันน่ากังวลอย่างแท้จริง เมื่อจะมีการยกเลิกข้อจำกัดต่างๆเพิ่มติมในวันที่ 17 พฤษภาคม คนหนุ่มสาวจำนวนมากยังไม่ได้รับวัคซีน คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มอายุที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมสูงและอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมากที่สุด” เขาบอกกับบีบีซี นับตั้งแต่วันจันทร์ (17 พ.ค.) ผับ บาร์ และร้านอาหารในอังกฤษจะได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดบริการในร่ม ส่วนสถานบันเทิงในร่มก็จะกลับมาให้บริการเช่นกัน ในนั้นรวมถึงโรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ และพื้นที่เด็กเล่น ประชาชนในอังกฤษจะได้รับอนุญาตให้พบปะกันกลางแจ้งเป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 30 คน และพบปะกันในร่มสูงสุดไม่เกิน 6 คน หรือ […]

อ่านต่อ >>

อัปเดตวัคซีนถูกจองคิวฉีดวัคซีนแล้ว 1.4 ล้านราย

ความคืบหน้าลงทะเบียน “หมอพร้อม” ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง จองคิวฉีดวัคซีนแล้ว 1.4 ล้านราย วันที่ 6 พ.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเฟซบุ๊ก “หมอพร้อม” มีการรายงานความคืบหน้าตัวเลขผู้ลงทะเบียนจองคิวเพื่อฉีดวัคซีนในกลุ่มของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง รวมจำนวน 16 ล้านคน ล่าสุดข้อมูล ณ เวลา 14.00 น. ที่ผ่านมา มีจำนวนการจองคิวฉีดวัคซีนสะสม 1,432,895 ราย แบ่งเป็น จองผ่านหมอพร้อม 1,176,079 ราย จองผ่านโรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) และ อสม. 256,816 ราย อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มนี้จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป ส่วนประชาชนทั่วไปจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมเช่นกัน ตั้งแต่ 1 ก.ค. […]

อ่านต่อ >>

วัคซีนโควิด-19″หญิงตั้งครรภ์”ควรฉีดหรือไม่?

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 77 ราย ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และพบการติดเชื้อในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 81.5  แนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนป้องกัน แต่ให้เหมาะควรฉีดช่วงหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พร้อมย้ำป้องกันตัวเองต่อเนื่อง สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกการประชุมคณะทำงานการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้นำเสนอข้อมูลการสำรวจของกรมอนามัยล่าสุด 28 เมษายน 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 77 ราย ไม่มีอาการ 43 ราย มีอาการปอดอักเสบ แต่ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ 21 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ติดเชื้อในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยข้อมูลการใช้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์พบยังมีไม่มาก แต่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป ข้อปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ ช่วงโควิด-19 ระบาด การนัดหมายตรวจครรภ์ กรณีตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 โดยไม่มีการนัดตรวจพิเศษอื่นๆ สามารถโทรติดต่อขอเลื่อนนัดตรวจครรภ์ออกไปตามความเหมาะสม ส่วนในรายที่อายุครรภ์ […]

อ่านต่อ >>

วิกฤตโควิดในอินเดียเกี่ยวข้องกับคนทั้งโลกอย่างไร

ภาพคนอินเดียจำนวนมากกำลังล้มตายจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สองในอินเดีย ได้สร้างความตกตะลึงและสลดใจให้คนทั่วโลก ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ของอินเดียทะลุหลัก 200,000 คนแล้ว โดยสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากสหรัฐฯ บราซิล และเม็กซิโก แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงกว่านี้ เพราะพบกรณีผู้เสียชีวิตจากโควิดหลายคนไม่ได้ถูกนับรวมเข้าไปในตัวเลขของทางการในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ วิกฤตครั้งนี้ทำให้เจ้าหน้าที่สุสานและฌาปนสถานต้องทำงานกันทั้งวันทั้งคืน ฌาปนสถานหลายแห่งเผาศพไม่ทันจนต้องสร้างที่เผาศพชั่วคราวขึ้นเพื่อรองรับกับศพที่หลั่งไหลเข้าไปจำนวนมาก เชื้อกลายพันธุ์ นอกจากอินเดียจะมีอัตราการติดเชื้อสูงแล้ว ก็ยังมีอีกปัจจัยที่น่ากังวล นั่นคือเชื้อกลายพันธุ์ เชื้อโรคโควิด-19 ที่กลายพันธุ์ชนิดใหม่ในอินเดีย เรียกว่า B.1.617 ถูกเรียกว่า “การกลายพันธุ์คู่” (double mutant) เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 ตำแหน่งที่โปรตีนหนามของไวรัส หลักฐานจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นบ่งชี้ว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ติดต่อได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้แอนติบอดี หรือสารภูมิต้านทานสกัดกั้นเชื้อไวรัสได้ยากขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไรบ้าง ดร.เจฟฟ์ บาร์เรตต์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาจีโนมของเชื้อโรคโควิด-19 (Covid-19 Genomics Initiative) แห่งสถาบันเวลคัม แซงเงอร์ (Wellcome Sanger Institute) ในสหราชอาณาจักร ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า “ผมคิดว่าเราต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนี้ยังไม่มีเหตุผลที่ต้องตื่นตระหนกกับมัน” แต่ยิ่งจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในอินเดียเพิ่มขึ้นเท่าใด โอกาสที่จะเกิดเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ ๆ […]

อ่านต่อ >>

ไบเดนเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 AstraZeneca 60 ล้านโดส

ไบเดนเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 AstraZeneca 60 ล้านโดสให้ประเทศขาดแคลน สนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม ทางการสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศเตรียมจัดสรรวัคซีนต้านโควิด-19 จาก AstraZeneca 60 ล้านโดสให้บรรดาประเทศขาดแคลนที่กำลังประสบวิกฤต เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม โดยในขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีวัคซีน AstraZeneca ภายในสต๊อก คาดว่าจะเริ่มทยอยจัดส่งช่วยเหลือได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้จำนวน 10 ล้านโดส ก่อนที่อีก 50 ล้านโดสจะจัดส่งให้ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนปีนี้ เบื้องต้นยังอยู่ในช่วงการพิจารณาว่า จะส่งวัคซีนดังกล่าวไปช่วยเหลือประเทศใด  ทางด้าน เจน ปซากี โฆษกประจำทำเทียบขาวระบุว่า ขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ได้ประกาศรับรองวัคซีนต้านโควิด-19 แล้วจำนวน 3 ตัวจาก Pfizer-BioNTech, Moderna และ Johnson & Johnson โดยวัคซีนจาก AstraZeneca ที่ทางสหรัฐฯ สั่งจองไปจะต้องผ่านการรับรองและตรวจสอบระดับประสิทธิภาพก่อนที่จะประกาศใช้เป็นกรณีฉุกเฉินภายในสหรัฐฯ ได้  แม้การเตรียมจัดสรรวัคซีนของสหรัฐฯ ก่อนส่งไปช่วยเหลือประเทศต่างๆ จะถือเป็นก้าวสำคัญของการสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมในประชาคมโลก แต่หลายฝ่ายยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งส่งความช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะวัคซีนต้านโควิด-19 ที่ทางการมีสต๊อกไว้อยู่ในขณะนี้  นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯ […]

อ่านต่อ >>

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใครควรได้รับบ้าง?

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ใครควรได้รับบ้าง?

เป้าหมายของการให้วัคซีนโควิด-19 คือ เพื่อลดการป่วยรุนแรง การเสียชีวิตจากโรคและการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากร เนื่องจากปริมาณของวัคซีนมีจำกัด กลุ่มเป้าหมายในระยะแรก คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรคสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายในระยะถัดไปเมื่อมีปริมาณวัคซีนมากขึ้น คือ ประชาชนทั่วไป ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก แต่จากคำแนะนำในการฉีดวัคซีนของแต่ละบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ยกเว้นวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ที่แนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม จากคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรอาจเลือกที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ หากเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาระหว่างความรุนแรงที่เกิดหากติดเชื้อโควิด-19 กับอาการข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น

อ่านต่อ >>

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine) คืออะไร?

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine) คืออะไร?

สำหรับประเทศไทยมีการพิจารณานำเข้าวัคซีน โดยวัคซีป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19 vaccine)นที่นำมาใช้นั้น จะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง รวมถึงมีการอนุมัติใช้แล้วในหลากหลายประเทศและได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งในขณะนี้มีด้วยกัน 4 ชนิดหลักๆ แบ่งตามเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีน คือ mRNA vaccines เป็นการผลิตโดยใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา Viral vector vaccines เป็นการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปในสารพันธุกรรมของไวรัสชนิดอื่นที่อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพื่อพาเข้ามาในร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา Protein-based vaccines จะใช้โปรตีนบางส่วนของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เช่น โปรตีนส่วนหนาม (spike protein) ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส Inactivated vaccines ผลิตโดยการใช้ไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้ว เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส

อ่านต่อ >>